ภาษาซี คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง

อาชีพเขียนโปรแกรม พัฒนาแอพพลิเคชั่นกลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจดิจิตอล แต่อาชีพนี้เองบอกเลยว่าไม่ง่ายอย่างที่คิดแน่นอน นอกจากจะต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาด้านภาษาอังกฤษเพื่อติดตามองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันแล้ว ภาษาคอมพิวเตอร์ก็ต้องเรียนรู้ด้วยเพื่อเขียนพัฒนาโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์มีหลายภาษาเพื่อตอบสนองการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน แต่ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เราน่าจะเคยผ่านหูมาบ้างแม้จะไม่ได้เป็นนักคอมพิวเตอร์ก็คือ ภาษาซี ภาษานี้คืออะไรเรามาทำความรู้จักกัน

ประวัติของภาษาซี

ภาษาซีเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2512-2516 ที่แล็บส์ของเอทีแอนด์ที ชื่อว่าภาษาซีนั้นมาจากการพัฒนาภาษาที่ใช้ก่อนหน้านี้คือ “บี” เรียงตามลำดับ จุดกำเนิดของภาษาซีนั้นเกิดจากการนักพัฒนากำลังต้องการสร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการตัวนี้ใช้ภาษาแอสเซมบลีในการสร้างขึ้นมา แต่ภาษาดังกล่าวยังขาดความยืดหยุ่น และไม่ตอบสนองความต้องการบางอย่างเพื่อให้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ทำได้ดั่งใจ หากต้องการพัฒนาคุณสมบัติยูนิกซ์ให้ดีขึ้น จึงต้องพัฒนาภาษาใหม่ด้วยจึงออกมาเป็นภาษาซีอย่างที่เรารู้จักกัน

ลักษณะของภาษาซี

เมื่อภาษาซีกำเนิดขึ้นมาปรากฏว่านอกจากจะทำให้การสร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เดินหน้าต่อไปได้แล้ว ภาษาดังกล่าวกลับเป็นที่นิยมของนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายในช่วงเวลานั้น ลักษณะของภาษาซีมีความเฉพาะตัวมากแต่ก็เป็นสิ่งที่นักพัฒนาชอบมากด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ภาษาซีจะอำนวยความสะดวกให้เราสร้างโปรแกรมเชิงโครงสร้างได้มากกว่า เราสามารถกำหนดขอบเขต ตัวแปร และ คำสั่งได้มากกว่า ยืดหยุ่นกว่า ที่สำคัญมันเกิดบัคน้อยกว่าภาษาอื่นในตอนนั้นด้วย จึงทำให้ภาษานี้ถูกนำไปสร้างโปรแกรมออกมาอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงแค่การสร้างโปรแกรมเท่านั้น ตัวภาษาซีเองก็มีความยืดหยุ่นในตัวเองด้วยบวกกับความนิยมในภาษา ทำให้มีการพัฒนายกระดับภาษาซี ออกมาอีกหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความถนัดการใช้งานของนักพัฒนากลุ่มนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาซีพลัส ภาษาซีพลัส พลัส ภาษาซีชาร์ป ภาษาวิชวลเบสิก ภาษาซี99 ภาษาซี1x เป็นต้น ยังไม่รวมถึงภาษาอื่นที่เกิดขึ้นมาทีหลังก็มีต้นแบบ ต้นกำเนิดมาจากเค้าโครงของภาษาซีด้วยกันทั้งหมด

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี

โปรแกรมภาษาซีประกอบไปด้วยโครงสร้างภาษาดังนี้ อย่างแรกจะเป็นการเขียนฟังก์ชั่นการทำงาน ตามด้วยการเขียนตัวแปร ค่าคงที่ สุดท้ายประโยคคำสั่งอย่างประโยคเชิงซ้อน ประโยคนิพจน์ โดยการเขียนประโยคคำสั่งแต่ละครั้งจะเป็นการใช้วงเล็บปีกกา เครื่องหมายเซมิโคลอน และอื่น เพื่อทำให้การอ่านคำสั่ง

ภาษาซี เป็นภาษากลาง

จุดเด่นข้อต่อมาของภาษาซี ก็คือ มันเป็นภาษาที่กินประสิทธิภาพต่ำ น้อยกว่าภาษาอื่น นั่นทำให้การเอาไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณจะทำได้ดีกว่า เสถียรกว่า บางองค์กรนำภาษาซีเป็นพื้นฐานในการช่วยคำนวณทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ เช่น จีเอ็มพี ไลบรารีวิทยาศาสตร์ของนู เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น ภาษาซี ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนภาษากลางของคอมพิวเตอร์อีกด้วย(คิดซะว่าเป็นภาษากลางของโลกอย่างอังกฤษ) ภาษาซียังสามารถแปลผลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งได้ด้วย หรือจะแปลภาษาอื่นเป็นภาษาซีได้ง่ายด้วย การทำหน้าที่ตรงนี้มีโปรแกรมช่วยแปลภาษาให้ด้วย(คล้ายกับการแปลภาษาแบบกูเกิ้ล) การแปลงภาษาแบบนี้จะทำให้งานของนักพัฒนาง่ายขึ้นเยอะ

ตอบสนองต่อเครื่องมือ ระบบปฏิบัติการได้ดีกว่า

จุดเด่นข้อต่อไปของภาษาซี ก็คือ มันเป็นภาษาพื้นฐานของโปรแกรมหลายอย่าง รวมถึงระบบปฏิบัติการด้วย นั่นทำให้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้จะตอบสนองต่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสายวินโดส์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ windowNT, windowsXP, windows7 จนถึง windows10 ก็ใช้งานได้ ใครจะมาสายทางเลือกระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ภาษาซีก็จัดให้ได้เหมือนกัน สุดท้ายใครมาสายเครื่องแม็คภาษาซีก็สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานดังกล่าวได้ด้วย จากที่เล่ามาทั้งหมดจึงไม่แปลกที่นักโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะต้องมีการศึกษาเรื่องของภาษาซีเป็นพื้นฐานให้เข้าใจก่อน จากนั้นจะขยับไปทำภาษาคอมพิวเตอร์แบบอื่นก็จะไม่ยากแล้ว